บทที่ 2 ประวัติความเป็นมาไก่ย่างไม้มะดัน

    ไก่เป็นสัตว์ที่ใช้เนื้อเพื่อการประกอบอาหารอีกประเภทหนึ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆคน ไม่ว่าจะนำไก่มาต้มยำ แกง ก็จะได้อาหารรสเลิศหลากหลายรายการอาหาร และสำหรับคนที่ชื่นชอบไก่แล้วก็ไม่ควรพลาดที่จะลิ้มลอง “ไก่ย่างไม้มะดัน” ของดีกินได้แห่งห้วยทับทัน จังหวัดศรีษะเกษ
                
   ประวัติและความเป็นมา
        ไก่ย่างไม้มะดันของห้วยทับทัน กำเนิดมาตั้งแต่ พ.ศ.2480 เดิมมีการไก่จำหน่ายประมาณ 4-5 รายเมื่อย่างเสร็จก็จะนำไปจำหน่ายบนรถไฟ เนื่องจากอำเภอห้วยทับทันมีสถานีรถไฟสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี วิ่งผ่าน ต่อมามีการสร้างทางหลวงหมายเลข 226 ซึ่งเป็นทางหลวงระหว่างจังหวัด จึงมีการ ขยายร้านมาจำหน่ายริมทาง ปัจจุบันมีร้านจำหน่ายไก่ย่างมากมายหลายสิบร้าน
        ไก่ย่างไม้มะดัน แห่งห้วยทับทัน มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ ได้รับคัดเลือกให้เป็นอาหารเพื่อเลี้ยงรับรองผู้นำในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคในปี พ.ศ.2546 และได้รับคัดเลือกให้เป็นอาหารยอดนิยมในการประชุมครั้งนั้น ส่งผลให้ไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทันเป็นที่รู้จักมียอดการขายไก่ย่างเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
       ความพิเศษของไก่ย่างที่นี่มีหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบ คือ การนำไก่พื้นเมืองหรือที่ชาวห้วยทับทันเรียกกันว่าเป็น “ไก่สามสายเลือด”เพราะเป็นลูกผสมของไก่ข้ามสายพันธุ์ ได้แก่ ไก่โรดไอส์แลนด์ ร่วมกับไก่ซุปเปอร์ฮาโก้ และผสมกับไก่พื้นเมืองไกชน
โดยไก่สามสายเลือดนี้ มีหน่วยงานราชการมาแนะนำให้ชาวบ้านที่ห้วยทับทันเลี้ยง แต่ไก่ดังกล่าวมีลักษณะจำเพาะ คือ เนื้อค่อนข้างเหนียวเหมือนไก่ชน จะทำเมนูอะไรก็ไม่อร่อยนอกจากนำมาย่างเท่านั้น นายอรรณพ  เพชรวิเศษ อดีตนายอำเภอห้วยทับทัน ต้องการจะช่วยชาวบ้านจึงพัฒนาสูตรไก่ย่างขึ้นมา และนำไก่ย่างสามสายพันธุ์มาย่าง ทำให้ชาวบ้านสามารถขายไก่ที่เลี้ยงไว้ได้และมีอาชีพขายไก่ย่างไปด้วยกลายเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของไก่ย่างไม้มะดัน
ส่วนอีกหนึ่งจุดเด่นที่จะขาดไม่ได้ คือ การนำไม้มะดัน ซึ่งเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ทั่วไปริมลำห้วยทับทัน มาใช้เป็นไม้สำหรับปิ้งไก่ ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ เมื้อไม้มีกลิ่นหอมออกรสเปรี้ยว เนื้อเหนียว ทนความร้อนได้ดี เมื่อนำมาคีบจะเพิ่มรสชาติที่มีความหอมอร่อยมากยิ่งขึ้น
        สำหรับขั้นตอนการย่างไก่นั้น ก็จะนำไก่มาผ้าซีกแบ่งเป็น 4 ส่วน หรือใช้ไก่ทั้งตัวผ่ากลางลำตัว หมักด้วยเครื่องเทศ และเครื่องปรุงรส ซึ่งประกอบด้วยกระเทียม ซอส เกลือ นำไก่มาคีบด้วยไม้มะดันและย่างด้วยไฟอ่อนๆ ให้สุกในส่วนของเตาย่างไก่ มีนำระบบเตาย่างมาตรฐานกิโทริของประเทศญี่ปุ่นที่ใช้การย่างจากหินภูเขาไฟ ซึ่งมีนักประดิษฐ์คนไทยเป็นผู้ออกแบบมาใช้ในการย่างไก่ด้วย
        ผลจาการผสมเครื่องปรุงทำให้เนื้อไก่แห้งพอดีไม่แฉะเยิ้มด้วยน้ำมัน เป็นความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของไก่ย่างห้วยทับทันที่ไม่อาจลอกเลียนแบบได้ จนได้รับเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์โอท็อปประดับ 5 ดาว ของจังหวัดศรีษะเกษ ปัจจุบันมีเฟรนไซด์ทั่วประเทศไทย ราคาจำหน่ายไม่แพงราคาไม้ละ20-25 บาทต่อไม้ และจำหน่ายเป็นตัว ราคา 60-80 บาทต่อตัว
      ลักษณะเด่น/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
         ลักษณะเด่น/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ การนำไม้มะดัน ซึ่งเป็นไม้ที่อยู่ทั่วไปริมห้วยทับทัน มาใช้เป็นไม้สำหรับปิ้งไก่ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือกลิ่นหอมออกรสเปรี้ยว เนื้อเหนียว ทนความร้อนได้ดีเมื่อนำมาคีบไก่จะเพิ่มรสชาติที่มีความหอมอร่อยมากขึ้น
      มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
          1.ได้รับมาตรฐาน Clean Food Good Test
          2.ได้รับคัดเลือกเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัด(PSO)
          3.ได้รับการคัดสรรหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาว
      ความสัมพันธ์ของชุมชน
           ความสัมพันธ์ของชุมชนในการผลิตไก่ย่างไม้มะดันโดยประชาชนในชุมชนมีงานทำตั้งแต่การตัดไม้มะดันเพื่อเป็นไม้คีบไก่ย่างการทำตอกมัดไก่ย่าง การเผ่าถ่าน การจำหน่ายไก่ย่างปลีกบนขบวนรถไฟ การเลี้ยงไก่ การรับจ้างย่างไก่ การจำหน่ายไก่ย่างเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน โดยชุมชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตถึงการจำหน่าย
      วัตถุดิบและส่วนประกอบ
           ไก่ย่างไม้มะดันผลิตจากไก่ย่างพันธ์พื้นเมืองและไก่สามสายเลือด โดยใช้ไม้มะดันทำเป็นไม้เสียบไก่จะออกรสชาติเปรี้ยวพอเหมาะ กับสูตรเครื่องปรุงเนื้อไก่แห้งพอดีไม่แฉะเยิ้มด้วยน้ำมัน รสชาติอร่อยด้วยน้ำจิ้มสูตรเด็ดมีเอกลักษณ์ไม้มะดันซึงเป็นต้นตำรับไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทัน
     วัตถุดิบที่ใช้
- ไก่พันธุ์พื้นเมืองและไก่สามสายเลือด
- ไม้มะดัน
-  เครื่องปรุง(ต่อไก่ 60 ตัว) ประกอบด้วย
-  กระเทียม 2 ขีด , พริกไทย 1 ขีด , น้ำมันหอย ½ ถ้วย , ซีอิ้ว ¼ ถ้วย , น้ำตาลทราย ½ ถ้วย
-  ผงชูรส ¼ ถ้วย
ขั้นตอนการผลิต
  นำไก่ขนาดตัวละ 1.2 กิโลกรัมที่ถอนขนและล้างให้สะอาดผ่าเป็นชิ้นโดยไก่ 1 ตัว ผ่าเป็น 4 ชิ้นหรืไก่ทั้งตัวมาทำการหมักด้วยเครื่องปรุงที่โขลกละเอียดไม่น้อยกว่า 30 นาที หลังจากนั้นใช้ไม้มะดันมาคีบไก่ย่างความเปรี้ยวของเนื้อไม้มะดันที่แทรกซึมเข้าไปในเนื้อไก่ขณะย่างจะทำให้รสชาตกลมกล่อมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะและยังช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อไก่ได้ด้วยการย่าง ต้องย่างด้วยเตาถ่านที่กลบด้วยขี้เถาเพื่อให้อุณหภูมิพอเหมาะทำให้เนื้อไก่ไม่แห้ง หรือไหม้จนเกินไป เมื่อนำไปรับประทานนำไปจิ้มกับน้ำจิ้มสูตรเฉพาะของห้วยทับทัน
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
           1.ไก่สดจะทำให้รสชาติอร่อย
            2.สูตรการหมัก
            3.คีบด้วยไม้มะดันย่างด้วยไฟอ่อนๆ
       กลุ่มผู้ประกอบ

                ชมรมไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทันโดยมีผู้ประกอบการจำนวน 45 ร้าน โดชมรมไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทันที่มีนายพีปกรณ์  เฮงรัตนกุลเศรษฐ์ เป็นประธานชมรมและนายสุนทร  สุฤทธิ์เป็นเลขานุการชมรมการจำหน่ายร้านค้าริมทางหลวงแผ่นดิน สาย 226 และจำหน่ายที่สถานรถไฟอำเภอห้วยทับทันและนอกจากนั้นชมรมไก่ย่างไม้มะดันยังมีเฟรนไซด์ให้กับผู้สนใจในการจำหน่ายไก่ย่างไม้มะดันเพื่อจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน
ถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น