บทที่ 5
การตลาดและการจัดจำหน่าย
ไก่ย่างไม้มะดันผลิตขึ้นในท้องถิ่นจากถูมิปัญญาชาวบ้าน
มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ทำให้ไก่ย่างไม้มะดันเป็นที่ยอมรับของตลาดหรือลูกค้า
ไก่ย่างไม้มะดันที่ผลิตขึ้นมาเองต้องได้มาตรฐาน มีคุณภาพคุ้มกับเงินที่ลูกค้าจ่าย
ชมรมไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทันในฐานะผู้ผลิตต้องมีความรู้
ความเข้าใจความสามารถเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพของสินค้า
การโฆษณาไก่ย่างมะดันห้วยทับทันให้กลุ่มเป้าหมายยอมรับ
รูปแบบหรือการบรรจุภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการ
คือการกำหนดราคาที่พอเหมาะกับท้องถิ่นหรือสถานที่จำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อจำหน่ายสินค้าให้ได้มากที่สุด
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
1.ส่งเสริมรายได้ให้แก่ครอบครัว
เพื่อเป็นการป้องกันการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองหลวง
2.ส่งเสริมการหมุนเวียนเงินทุนภายในจังหวัด
3.พัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิตประชากรให้ดีขึ้น
ลักษณะที่สำคัญของไก่ย่างไม้มะดันที่ลูกค้าต้องการ
1.มีความหลากหลายของขนาดไก่ย่างให้เลือก
เพื่อการตัดสินใจเลือกซื้อของลูกค้า ต้องมีคุณค่ามีประโยชน์
ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ประหยัดและลูกค้าจะซื้อในสิ่งที่ให้คุ้มค่า
เหมาะสมกับราคาของเงิน
2.ความปลอดภัย
มีความปลอดภัยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร
จึงต้องมีการประกันเสมอว่าการผลิตไก่ย่างที่ผลิตขึ้นมีความปลอดภัยที่จะนำมาบริโภค
3.คุณภาพผลิตภัณฑ์
ไก่ย่างต้องมีคุณภาพ
แม้ต้องราคาไม่สูงเกินไปจนกลุ่มเป้าหมายเกิดความลังเลและตัดสินใจซื้อได้
วิธีการเสริมที่ทำให้ไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทันตอบสนองความพอใจให้กับลูกค้า
1.มีการเลือกลูกค้าชอบความหลากหลาย
ต้องมีหลายรูปแบบ หลายขนาดมีให้เลือกมากจะตอบสนองรสนิยมของลูกค้าได้ดี
2.การรับรอง
ผู้ซื้อที่ตระหนักถึงคุณภาพและคุณค่าจำนวนมาก
จะพิจารณาถึงการรับรองเป็นองค์ประกอบของการตัดสินใจซื้อ
การได้รับการรับรองมาตรฐานความสะอาดความปลอดภัยจะขาย ได้จำนวนมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรอง
การรับรองต้องมีรายละเอียดที่สมบูรณ์เกี่ยวกับสถานที่
เงื่อนไขและเวลาคุ้มครองผลิตภัณฑ์
3.วัตถุดิบที่นำมาผลิต
ต้องเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมีราคาต่ำแต่ต้องมีคุณภาพและต้องมีจำนวนมากพอที่จะผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
4.การบริการ
การให้บริการได้อย่างรวดเร็วหรือบริการด้วยความเป็นกันเองกับลูกค้า
หรือทำอย่างไรก็ได้ที่ทำให้ลูกค้าพอใจเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่สนับสนุนการขายไก่ย่างไม้มะดันได้จำนวนมาก
ไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทัน
เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นในหมู่บ้านห้วยทับทัน ตำบลห้วยทับทันเมื่อแหล่งผลิตอยู่ในชุมชนที่ห่างไกล
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะสื่อความหมายให้ผู้บริโภคซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย
ได้รู้จักผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นและมีความสนใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ของชมรม
ถ้าชมรมมีความสามารถในการส่งเสริมการตลาดสูง เป็นแนวทางหนึ่งที่จะขายไก่ย่างไม้มะดัน
ห้วยทับทันได้มากขึ้น
ชมรมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้การส่งเสริมตลาด
การบรรจุภัณฑ์
การบรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ
ทำให้ผลิตภัณฑ์ดูน่ารับประทานและสวยงาม มีความปลอดภัย
การบรรจุหีบห่อช่วยสร้างภาพพจน์ขึ้นภายในใจของลูกค้าและนำไปสู่การยอมรับหรือปฏิเสธผลิตภัณฑ์
การบรรจุหีบห่อเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์
ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นสะดวกต่อการถือ มีกล่องหรือการบรรจุหีบห่อที่ดี
จะช่วยป้องกันหรือรักษาคุณภาพให้คงรูปแบบเดิม
การบรรจุหีบห่อจึงเป็นเครื่องมือในการส่งผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิผลในหลายๆทางการบรรจุหีบห่อที่ดี
ควรมีลักษณะดังนี้
1.การดึงดูดความสนใจของลูกค้า
ทำให้ลูกค้าได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อย่างใกล้ชิดในโอกาสต่อไป
2.การบอกให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับตัวสินค้า
ลักษณะคุณค่าประโยชน์ของสินค้าที่ผู้ซื้อได้รับ
3.การสร้างภาพพจน์ในทางบวกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
โดยการใช้สี การออกแบบ รูปร่างและกราฟฟิกของผลิตภัณฑ์ที่ตระหนักถึงความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์
การบรรจุหีบห่อจึงมีผลโดยตรงต่อการจำหน่ายซึ่งจะช่วยให้ชมรมสร้างข้อได้เปรียบ
ในตัวสินค้าให้เป็นที่น่าเชื่อถือในคุณภาพมากกว่าสินค้าประเภทเดียวกัน
วิธีการเลือกใช้การบรรจุหีบห่อ
การบรรจุหีบห่อที่ดีควรมีความยืดหยุ่น
ปรับปรุงและพัฒนาได้ตามความเหมาะสมอาจทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบรรจุหีบห่อ
ด้วยการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ เช่น สีสัน ขนาด รูปร่าง ป้าย ฉลาก
เพื่อให้เกิดความรู้สึกได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และการใช้เครื่องมือในการส่งเสริมการขาย
1.การปรับปรุงการบรรจุหีบห่อ
ควรอยู่ในรูปแบบเดียวกันทั้งหมดเพื่อกระตุ้นให้เกิดความจำและความพึงพอใจให้แก่ผู้ซื้อ
2.การปรับแต่งไก่ย่างไม้มะดันให้เกิดคุณค่าแก่ผู้ซื้อ
เมื่อได้บริโภคไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทันแล้ว ผู้ซื้อสามารถบอกต่อและกระตุ้นให้ผู้ซื้อกลับมาซื้อซ้ำ
3.การบรรจุหีบห่อรวมเป็นกล่อง
ในโอกาสที่มีการส่งเสริมการขาย เช่น เทศกาลต่างๆการใช้วิธีการเช่นนี้จะช่วยกระตุ้นให้ขายสิ้นค้าได้จำนวนมากในเวลาเดียวกัน
การกำหนดราคา
การกำหนดราคา
ชมรมไก่ย่างไม้มะดันกำหนดจากต้นทุนการผลิต เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดราคาให้เหมาะสม
ดังนี้
1.การจำหน่ายในสถานที่ผลิต
ควรกำหนดในราคาสูงกว่าต้นทุนไม่มากนัก เพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้าให้มาอีก
เป้าหมายคือการประชาสัมพันธ์เผยแพร่
2.การจำหน่ายตามงาน / เทศกาล
ชมรมต้องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จำนวนมาก จึงควรกำหนดราคาให้พอเหมาะ
เพราะกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปและข้าราชการ
4.การขายปลีก
กลุ่มเป้าหมายมีกำลังซื้อสม่ำเสมอและจำนวนมาก
ควรขายเอากำไรแต่น้อยเพราะผู้ซื้อต้องการซื้อไปบริโภคเป็นประจำ
4.การฝากขาย
สำหรับร้านขายส้มตำไก่ย่างทั่วไป ควรตั้งราคาต่ำกว่าร้านฝากขายที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
เช่น ร้านค้าสะดวกซื้อ
ราคา
1.จำหน่ายเป็นไม้ ราคา 35
– 40 บาท/ไม้
2.จำหน่ายเป็นตัว ราคา 100
– 120 บาท/ตัว
ช่องทางการจำหน่ายไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทัน
ช่องทางการจำหน่ายที่ร้านค้าชุมชนริมถนนสาย
226 ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านค้าชุมชนริมทางและขบวนรถไฟโดยมีช่องทางการจำหน่าย
3 ช่องทาง
ช่องทางที่ 1
ชมรมไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทันนำสิ้นค้าไปจำหน่ายให้ลูกค้าโดยตรง โดยไม่มีคนกลาง
เช่น ร้านค้าที่ร้านขายไก่ย่างส้มตำในอำเภอ การนำไปจำหน่ายในงานแสดงที่
หน่วยราชกาลจัดขึ้น ตลาดสดเทศบาล ตลาดนัด เป็นต้น
ช่องทางที่ 2 ชมรมนำสิ้นค้าไปขายปลีกให้ร้านค้าในอำเภอเมือง
แม่ค้า/พ่อค้า จะขายให้ลูกค้าอีกต่อหนึ่ง
ร้านค้าเหล่านี้สามารถซื้อสิ้นค้าโดยตรงจากผู้ผลิต
ช่องทางที่ 3 จากผู้ผลิตไปยังผู้รับลิขสิทธิ์และสุดท้ายคือลูกค้า
ผู้รับลิขสิทธิ์สาขาต่างๆ
นำสิ้นค้าไปจำหน่ายให้ลูกค้าที่ต้องการซื้อไก่ย่างไม้มะดัน เป็นต้น
โดยสรุป
ชมรมไก่ย่าไม้มะดันห้วยทับทันส่วนใหญ่ต้องการที่ทำธุรกิจเพื่อจำหน่ายในลักษณะช่องทางที่
1 เพราะสามารถขายได้ในราคาดี
ควบคุมคุณภาพได้และเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าที่ต้องการซื้อสิ้นค้าที่คุ้มค่า
ส่วนช่องทางการจำหน่ายที่ 2,3 เป็นช่องทางผ่านคนกลางราคา
สิ้นค้าเมื่อถึงมือลูกค้าจะมีราคาสูง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ขายสิ้นค้าได้น้อยลง
วิธีการที่จะทำให้ลูกค้ารู้จักไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทัน
1.การโฆษณา การโฆษณาที่เสนอข่าวสารการผลิตการขายที่โน้มน้าวจูงใจคนซื้อมากที่สุด
เนื้อหาการโฆษณาจะต้องมีเนื้อหาว่าไก่ย่างไม้มะดันมีรสชาติเข้มข้นมีคุณภาพดี
สะอาดใช้สมุนไพรรักษาสุขภาพ ราคาพอเหมาะคุ้มค่าให้บริการที่รวดเร็ว หลายรูปแบบและเสียค่าใช้จ่ายน้อย
รูปแบบการทำโฆษณาทำได้ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อย ที่นิยมใช้คือ
2. การประชาสัมพันธ์
เป็นการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงรายละเอียดของสินค้า สถานที่จำหน่าย
ราคา ชมรมมีการประชาสัมพันธ์สิ้นค้าของชมรม
โดยการออกรายการทางวิทยุตามที่ทางราชการจัดให้หรือการประชาสัมพันธ์ในโอกาสที่มีการไปจำหน่าย
แสดงสิ้นค้าในงานเทศกาลต่างๆหรือสถานที่ทางราชการ เอกชนจัดให้
ซึ่งจะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์
3.การจัดแสดงผลิตภัณฑ์ตามสถานที่ราชการตามความเหมาะสม
สำหรับสินค้าที่หน่วยงานให้การสนับสนุนการดำเนินงาน/เอกชนจัดไว้ให้จำเป็นอย่างยิ่งที่ชมรมจะต้องทำเป็นแบบอย่างเพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้า
การนำเสนอ ผลิตภัณฑ์ที่นำออกไปจำหน่ายตามสถานที่ทางราชการ
4.รายละเอียดของผลิตภัณฑ์
ต้องจัดทำรายละเอียดขั้นตอนการผลิต คุณภาพการผลิตภัณฑ์ สถานที่การผลิต ราคา
แสดงไว้จำหน่ายเพื่อลูกค้าจะได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้น
5.การเชิญชวน
ผู้ขายต้องมีบุคลิกที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย มีมนุษยสัมพันธ์ดียิ้มแย้มแจ่มใส่ทักทายลูกค้าและต้องขอบคุณลูกค้าทุกครั้งไม่ว่าลูกค้าจะซื้อหรือไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ก็ตาม
6.การจัดแสดงรูปภาพของผู้มีชื่อเสียง
ที่เคยรับประทานที่ร้านจำหน่ายหรือจัดแสดงเกียรติบัตรที่เคยได้รับรางวัล
เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อถือและเชิญชวน
7.การสาธิต
ถ้าเป็นไปได้ในการจัดให้มีการสาธิตผลิตภัณฑ์ตามขั้นตอนการผลิต
เป็นการดึงดูดลูกค้าอีกด้านหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น