บทที่ 3 ส่วนประกอบที่ใช้ในการทำไก่ย่าง



               ผลิตจากพันธุ์พื้นเมืองและไก่สามสายเลือดโดยใช้ไม้มะดันทำเป็นไม้เสียบไก่ จะออกรสชาติเปรี้ยวพอเหมาะกับสูตรเครื่องปรุงเนื้อไก่แห้งพอดีไม่แฉะเยิ้มด้วยน้ำมัน   รสชาติอร่อยด้วยน้ำจิ้มสูตรเด็ดมีเอกลักษณ์ไม่มะดันซึ่งเป็นต้นตำรับไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทัน
ไก่พื้นเมืองและไก่สามสายเลือด
              ไก่ที่เราเลี้ยงตามบ้านเรียกว่าไก่บ้านหรือไก่พื้นเมืองเป็นที่นิยมโดยทั่วไป  ไก่บ้านสามารถนำไปเป็นอาหารประเภทต่างๆมากมายเนื่องจากไก่บ้านมีรสชาติดีกว่าไก่เลี้ยงชนิดอื่นๆ (หรือที่เรียกว่าไก่พันธ์) ปัจจุบันไก่ที่เป็นลูกผสมที่เรียกว่าไก่  ไก่สามสาย”   เป็นไก่ลูกผสมระหว่างไก่พื้นเมือง ไก่ไข่และไก่เนื้อ ซึ่งได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างดี  ไก่สามสายมีลักษณะคล้ายไก่บ้านและไก่พื้นเมืองมีสร้อยสีต่างๆ บริเวณคอมีรูปทรงเหมือนไก่เนื้อคืออ้วนป้อมหางสั้น  โรคที่พบได้แก่ อหิวาไก่ นิวคลาสเซิลโรคบิด  การเลือกที่จะเลี้ยงไก่พันธ์นี้เพราะเป็นไก่ที่โตไวมีความอึดและทนทานมากกว่าไก่เนื้อ เนื้อไก่มีรสชาติดีเหนียวนุ่มเป็นที่ถูกใจผู้บริโภคทั้งยังมีน้ำหนักตัวมากขายได้ราคาดี
-                   
           ข้อดีของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
1.ตลาดมีความต้องการมาก โดยสามรถจำหน่ายได้ในราคาที่ดีใกล้เคียงกับไก่พื้นเมือง
2.สามารถเลี้ยงเป็นอาหารเสริมได้ดี
3.ทุนค่าอาหารไม่มากเท่ากับไก่สายพันธุ์การค้า
4.เนื้อไก่พื้นเมืองลูกผสมมีลักษณะคล้ายไก่พื้นเมือง มีไขมันใต้ผิวหนังน้อยกว่าไก่กระทง

       ข้อจำกัดของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
                    1.การหาลูกไก่พื้นเมืองลูกผสมจำนวนมากๆ ในครั้งเดียวกันในบางพื้นที่หาได้ค่อนข้างยาก ต้องอยู่ใกล้แหล่งผลิตไก่พื้นเมืองลูกผสม
                    2.ถ้าเกษตรกรผู้เลี้ยงต้องการไก่เป็นจำนวนมากในแต่ละรุ่นต้องผลิตลูกไก่เองหรือสถานที่เลี้ยงต้องอยู่ใกล้แหล่งผลิตไก่พื้นเมืองลูกผสม
                   3.ไก่พื้นเมืองลูกผสมที่เกิดจากพ่อไก่พันธุ์อื่น ผสมกับแม่ไก่พื้นเมืองได้ลูกไม่มากเท่าที่ควร คือได้ลูกไก่เท่ากับไก่พื้นเมืองเท่านั้น

1. พันธุ์ไก่พื้นเมืองลูกผสม
           ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองลูกผสม ลูกที่ได้มานั้นจะมีเลือดไก่พื้นเมือง 50 เปอร์เซ็นต์ และเลือดพันธุ์อื่นๆอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องพิจารณาถึงพ่อและแม่พันธุ์ที่ใช้ ซึ่งอาจจะเป็นดังนี้
               1.พ่อไก่โรดไฮแลนด์เรด ผสมกับแม่ไก่พื้นเมือง ลูกที่ได้เป็นลูกครึ่ง ได้ลูกน้อย เท่ากับไก่พื้นเมืองโดยที่แม่ไก่พื้นเมืองฟักไข่ได้เอง
               2.พ่อไก่พื้นเมืองผสมกับแม่ไก่โรดไฮแลนด์เรด หรือแม่ไก่บาร์พลีมัทรอคได้ไก่ลูกครึ่งสามารถผลิตลูกไก่ได้มาก แต่ลูกไก่ที่ผลิตได้ต้องใช้ตู้ฟักไข่ เนื่องจากแม่ไก่โรดไฮแลนด์เรดและแม่ไก่บาร์พลีมัทรอคให้ไข่ดก

2.การเริ่มต้นการเลี้ยงไก่พื้นเมืองลูกผสม
        การเริ่มต้นเลื้ยงอาจทำได้โดย
               1.เลี้ยงพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ โดยเริ่มจากการซื้อลูกไก่ขนาดเล็ก หรือซื้อไก่รุ่นหรือไก่ใหญ่มาเลี้ยง    เป็นพ่อ-แม่พันธุ์
               2.โดยการซื้อลูกไก่พื้นเมืองลูกผสมจากผู้ผลิตลูกไก่ขาย วิธีนี้สะดวกในการดูแลและจัดการได้ลูกไก่ครั้งละจำนวนมาก และมีขนาดใกล้เคียงกัน

3.โรงเรือนและขนาดพื้นที่
             โรงเรือนไก่พื้นเมืองลูกผสม สร้างได้หลายแบบโดยอาจสร้างถาวร หลังคามุงกระเบื้องหรือสังกะสี พื้นเทคอนกรีตผนังบุด้วยลวดตาข่ายซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องการเลี้ยงเป็นอาชีพ  โดยเลี้ยงเป็นจำนวนมากหรืออาจใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น มุงด้วยหลังคาจากหรือแฝก ผนังใช้ไม้ไผ่ซี่หรือลำปอ พื้นดินหรือคอนกรีตก้อได้  ถ้ามุงหลังคาด้วยวัสดุที่ไม่มีความคงทน เช่น จากหรือแฝกต้องมีความลาดเอียงมากเพื่อป้องกันไม่ให้ฝนรั่ว โดยสรุปแล้วโรงเรือนที่สร้างนี้ ต้องกันแสงแดด ฝน ป้องกันลมโกรกและศัตรูของไก่ได้

4.ขนาดพื้นที่ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองลูกผสม
       ไก่อายุ 2 เดือนขึ้นไปใช้พื้นที่ประมาณ 5 ตัว ต่อ 1 ตารางเมตร ในการสร้างคอกให้มีขนาดใหญ่เท่าใดนั้น พิจารณาจากพื้นที่ต่อตัวเมื่อไก่มีขนาดใหญ่เป็นเกณฑ์เพราะไก่ขนาดเล็กสามารถเลี้ยงในคอกใหญ่ได้       โดยแบ่งกั้นคอกเป็นคอกย่อย แต่ถ้าเลี้ยงไก่ในคอกที่แออัดไก่จะมีปัญหาจิกตีกันมากและโตช้า
        
5.การเตรียมโรงเรือน
                 ก่อนที่จะนำไก่มาเลี้ยงต้องทำความสะอาดโรงเรือน และบริเวณรอบๆโรงเรือนให้สะอาด ฉีดยาฆ่าเชื้อโรคและโรยปูนขาวให้ทั่ว ให้ปฏิบัติตามที่เห็นว่าสะดวกถ้าคอกมีเหาและไรรบกวน ต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลง โดนการฉีดพ่นและทิ้งคอกไว้นาน 7-10 วัน เอาพวกแกลบหรือขี้เลื่อยใส่รองพื้นเพื้อดูดความชื้น     จากมูลไก่
         
6.วัตถุประสงค์และอุปกรณ์ในการเลี้ยง
            1.ภาชนะใส่น้ำเพื่อสะดวกในการให้น้ำและการดูแลความสะอาด ใช้ขวดให้น้ำชนิดแขวนเลือกขนาดให้เหมาะสมกับอายุหรือใช้วัสดุอื่นก้อได้ แต่ต้องสามารถดูแลเรื่องความสะอาดได้ดีพอสมควรและให้มีจำนวนเพียงพอ
            2.ภาชนะใส่อาหาร ใช้ภาชนะใส่อาหารให้เหมาะสมกับขนาดของไก่ เมื่อเวลาให้อาหารไก่ทุกตัวสามารถกินอาหารได้พร้อมกัน ไก่ขนาดเล็กใช้รางอาหารสำหรับลูกไก่ ไก่ใหญ่ใช้ถังชนิดแขวน ซึ่งสะดวกในการให้อาหารมากและอาหารไม่ตกหล่นพื้น ที่รองอาหารพิจารณาได้ดังนี้
-ไก่เล็ก 10 ตัวใช้รางยาว 20 เซนติเมตร                                                                                                                     
-ไก่รุ่น 10 ตัวใช้รางยาว 40 เซนติเมตร                                                                                                              
-ไก่ใหญ่ 10 ตัวใช้รางยาว 1 เมตร
           3.ภาชนะใส่กรวดและเปลือกหอยป่น ในกรณีที่มีการเลี้ยงแบบขังคอกตลอดเวลา
        
7.อาหารไก่พื้นเมืองลูกผสม
             อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงไก่ที่จะพาให้ผู้เลี้ยงประสบผลสำเร็จมีกำไรงดงามหรือขาดทุน เพราะว่าทุนในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองประมาณร้อยล่ะ 70 เป็นค่าอาหาร อาหารที่ไก่กินเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็นเนื้อ การเปลี่ยนแปลงดังกว่าจะให้ผลดีเพียงใดขึ้นอยู่กับ
-พันธุ์ไก่ที่นำมาเลี้ยง                                                                                                                                         
-สุขภาพของไก่                                                                                                                                                 
-ส่วนผสมวัตถุดิบที่นำมาเป็นอาหารสัตว์                                                                                                           
-การจัดการเลี้ยงดู

8.วิธีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองลูกผสม
              เกษตรกรรายย่อยสามารถเลือกวิธีการเลี้ยงได้ตามทุนของตนเองที่มีอยู่เป็นหลัก ซึ่งวิธีการเลี้ยง     แต่ละวิธีให้ผลไม่เหมือนกัน วิธีการเลี้ยงอาจทำได้หลายวิธี เช่น
           1.เลี้ยงโดยวิธีปล่อยลาน การปล่อยให้ไก่ออกหาอาหารกินที่มีอยู่ตามธรรมชาติเป็นหลักและมีการเสริมอาหารให้ไก่กินบ้างเล็กน้อย เป็นวิธีกระทำโดยทั่วไปในชนบท ที่มีพื้นที่กว้างขวางแต่มีคอกหรือที่หลบฝนหลบแดดให้ไก่ วิธีการนี้ไก่เจริญเติบโตช้าแต่ลงทุนน้อยเลี้ยงไก่ได้จำนวนไม่มากนัก
          2.เลี้ยงโดยครึ่งปล่อยลานและครึ่งขังคอก วิธรนี้ต้องสร้างโรงเรือนให้ไก่ได้อาศัย โดนผู้เลี้ยงให้อาหารมีจำนวนมากพอโดยสังเกตการณ์กินอาหารว่าไก่กินจนหยุดหรือหยุดคุ้ยเขี่ยอาหาร โดยปล่อยออกหากิน   ในตอนเช้าและตอนเย็นให้อาหารกินอย่างเต็มที่ วิธีการนี้ลงทุนค่าอาหารเพิ่มขึ้น เลี้ยงไก่ได้จำนวนมากขึ้น
          3.เลี้ยงในคอกตลอดเวลา ในการเลี้ยงวิธีนี้ ไม่ให้ไก่มีโอกาสไปหากินอาหารเองได้ตามธรรมชาติ อาหารจึงควรมีโภชนาต่างๆสมบูรณ์และมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา วิธีการนี้เลี้ยงไก่ได้ไม่จำกัดจำนวนเท่าที่พื้นที่โรงเรือนเอื้ออำนวยลงทุนค่าอาหารมากแต่สะดวกในการจัดการ

 9.การเลี้ยงพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์
              ฝูงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์สำหรับเลี้ยงเพื่อนำไก่ไปฟักหรือให้แม่ไก่ฟักไข่เอง ใช้ตัวผู้ 1 ตัว ต่อตัวเมีย 8 ตัว การเลี้ยงฝูงไก่พันธุ์ที่ใช้พ่อพันธุ์โรดไอแลนด์เรดหรือพันธุ์บาร์พลีมัทรอค ผสมกับไก่พื้นเมืองเพศเมียต้องทำรังให้แม่ไก่ทุกตัว โดยใช้วัสดุต่างๆ เช่น ลังกระดาษ ลังไม้ ตะกล้า กระบุง เพื่อใช้เป็นที่วางไข่และฟัก         ในกรณีที่ใช้พ่อไก่พื้นเมืองผสมกับไก่พันธุ์โรดไอแลนด์เรดหรือพันธุ์บาร์พลีมัทรอคเพศเมีย ซึ่งแม่ไก่ฟักไข่ต้องหารังให้แม่ไก่จำนวน 4 ตัว ต่อ 1 รัง โดยรังมีขนาดกว้าง 30 ยาว 30 และสูง 40 เซนติเมตร มีน้ำและอาหารให้กินตลอดเวลาแต่ระวังอย่าให้ไก่อ้วน
       
10.การเลี้ยงดูลูกไก่
              เมื่อลูกไก่ออกมาแล้วหรือซื้อลูกไก่มาเลี้ยงระยะ 0-2 สัปดาห์ ต้องให้ความอบอุ่นแก่ลูกไก่ในพื้นที่ไม่มีไฟฟ้า นำกล่องกระดาษเจาะรูด้านข้างเพื่อระบายอากาศ นำแกลบ หญ้าแห้งใส่รองพื้น หรือนำมาขังสุ่มแล้วเอากระสอบคลุม เอาหญ้าหรือฟางแห้งรองพื้น นำลูกไก่ใส่ไว้ในตอนกลางคืน อาจใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าดเป็นแหล่งให้ความอบอุ่น ในบริเวณที่มีไฟฟ้ากลมชนิดมีไส้แขวนไว้เหนือศีรษะไก่ หลอดไฟฟ้าขนาด 60 แรงเทียน กกได้ 100 ตัว ต้องทำแผงกั้นลูกไก่ให้อยู่ในบริเวณที่กำหนด ถ้าลูกไก่หนาวจะสุมกันใต้หลอดไฟให้เพิ่มหลอดไฟอีกหรือใช้เครื่องกกแบบฝาชี วางถาดอาหารและถังน้ำให้กินตลอดเวลา
       
11.การเลี้ยงไก่รุ่น
           ช่วงอายุ 3-6 สัปดาห์ ไม่จำเป็นต้องกกเพียงจำเป็นต้องดูแลไม่ให้ฝนสาดหรือลมโกรก ให้อาหารโดยใช้ถังแขวนเสมอไหล่ เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่คุ้ยเขี่ยอาหารและอาหารตกหล่น ถังน้ำแขวนระดับไหล่เพื่อไม่ให้สกปรกง่าย และต้องทำความสะอาดทุกวันในกรณีที่เลี้ยงแบบครึ่งปล่อยลานครึ่งขังคอก ให้อาหารตามปกติแต่ปล่อยให้ไก่ออกไปหากินอาหารธรรมชาติในบริเวณที่กำหนด อาหารส่วนใหญ่ก็ได้รับจากผู้เลี้ยง
     
12.การสุขาภิบาลและการป้องกันโรค
              การเลี้ยงไก่นั้นการจัดการให้ไก่มีสุขภาพดีอยู่เสมอนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพราะทำให้ลดการเสี่ยงต่อการขาดทุน การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโรงเรือน อุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ ทำให้การจัดการเลี้ยงดูเป็นไปด้วยความสะดวก นอกจากนี้ต้องใช้วัคซีนป้องกันโรคไก่ที่สำคัญตามกำหนดเวลาอย่างเคร่งครัดดกว่าปล่อยให้ไก่ป่วยแล้วดูแลรักษา เพราะนอกจากยุ่งยากแล้วยังเป็นการเพิ่มทุนอีกด้วย โรคไก่ที่สำคัญและเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ปีกตายเป็นจำนวนมากนั้นมีไม่มากนัก แต่โรคที่ทำให้ไก่มีสุขภาพไม่แข็งแรงสมบูรณ์นั้นมีมาก โรที่ทำให้ไก่ตายเป็นจำนวนมากและสมควรที่ต้องทำวัคซีน ได้แก่
1.โรคนิวคลาสเซิล                          2. โรคฝีดาษ
3.โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ         4.โรคอหิวาต์เป็ด-ไก่
         
13.การจำหน่ายไก่พื้นเมืองลูกผสม
            ไก่พื้นเมืองลูกผสมเลี้ยงเพื่อเอาเนื้อเป็นอาหาร เนื่องจากสามารถผลิตลูกไก่ได้มากกว่าไก่พื้นเมืองและรสชาติของเนื้อดีกว่าไก่กระทงโดยทั่วไป เมื่อเลี้ยงได้น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัมก็จับขาย โดยใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 12 สัปดาห์
         
14.การจำหน่ายสามารถทำได้หลายวิธี
-ขายเป็นไก่มีชีวิต ชั่งน้ำหนักขายเป็นตัว
-จำหน่ายเป็นไก่แปรรูป ไก่ย่าง ไก่อบฟาง ไก่อบ เป็นต้น

ไม้มะดัน
วงศ์ GUTTIFERAE
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Garcinia schomburgkiaana Pierre
ชื่อพื้นเมือง มะดัน ส้มมะดัน ส้มไม่รู้ถอย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
               มะดันเป็นไม้ยาต้นสูง5-10 เมตร มักพบบริเวณริมลำธารและริมหนองน้ำในป่าดงดิบแล้ง บางครั้งมีการนำมาปลูกในบริเวณบ้าน ใบรูปหอก สีเขียวแข็งออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน เป็นมันยาว 9 ซม. กว้าง 2.5 ซม. ดอกออกเป็นกลุ่ม 3-6 ดอก ดอกสีเขียวและแดงเรื่อๆ มี 4 กลีบ ยาว 6.5 มม. กว้าง 3 มม. ผลรูปไข่ ยาวรี ยาว 5-7 ซม. กว้าง 2-3 ซม. สีเขียวมัน   
     
1.การปลูก
          มะดันในธรรมชาติมักขึ้นตามป่าโปร่ง ที่ลุ่มต่ำ ชาวบ้านภาคกลางมักนำมาปลูกตามบ้านและตามสวน มะดันเป็นไม่ชอบดินร่วนซุย ชุ่มชื้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
     
2.ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก
-ดิน เกือบทุกชนิดแต่ชอบดินร่วนโปร่ง มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์และมีความชื้นสูง
-ความชื้น สูง
-แสง น้อย-ปานกลาง
        
3.ประโยชน์ทางยา
ใบมะดันรสเปรี้ยว แก้เสมหะ แก้กระษัย แก้ระดูเสีย ขับฟอกโลหิต กัดเสมหะและระบายอ่อนๆ
       
4.ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก / ฤดูกาล ยอดอ่อน ใบอ่อน และลูกมะดันใช้รับประทานเป็นผักได้ ยอดอ่อนและใบอ่อนออกในช่วงฤดูฝน ลูกมะดันออกในช่วงปลายฤดูฝน (เดือนสิงหาคมถึงกันยายน)
      
5.การปรุงอาหาร
             ใบอ่อนและยอดอ่อนรับประทานเป็นผักแกล้มกับอาหาร เช่น ยำและน้ำพริก (น้ำพริกปลาร้า ปลาร้าหลน ปลาเจ่า ปลาจ่อมหลน) โดยรับประทานแบบสดและแบบทำให้สุก ผลมะดัน เป็นผลไม้รสเปรี้ยวจึงนำมาใช้ปรุงอาหารเพื่อให้รสเปรี้ยว ใช้แทนมะนาวได้ หรืออาจดองน้ำเกลือเพื่อทำให้รสเปรี้ยวลดลงและเก็บไว้รับประทานนานๆ ผลมะดันปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงปลาทูกับสายบัว แกงส้ม แกงปลาช่อน น้ำพริกมะดัน ใส่ยำต่างๆ เป็นต้น บางครั้งซอยฝอยเป็นผักแกล้มกับข้าวคลุกกะปิ
     
6.รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
             ใบรสเปรี้ยว ผลรสเปรี้ยว (เปรี้ยวสุขุม) บำรุงโลหิต ช่วยขับเสมหะ ขับฟอกโลหิต ระบายอ่อนๆ     ผลมะดัน 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 31 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยเส้นใย 0.6 กรัม แคลเซียม 103 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 8 กรัม วิตามินเอ 225 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.04 มิลลิกรัม  ไนอาซิน 0.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 16 มิลลิกรัม

กระเทียม
ชื่อวิทยาสาสตร์ Allium sativum
     กระเทียมเป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) เทียม (ใต้) ปะเซว้า (กระเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้)
     
1.ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
        กระเทียม เป็นไม้ล้มลุกสูง 30-60 ซม. มีกลิ่นแรง มีหัวใต้ดินบน Tunic bulb ลักษณะกลมแป้นเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 ซม. มีแผ่นเยื่อสีขาว หรือสีม่วงอมชมพูหุ้มอยู่ 3-4 ชั้น ซึ่งลอกออกได้ แต่ล่ะหัวมี 6-10 กลีบ กลีบเกิดจากตาซอกใบของใบอ่อน ลำต้นลดรูปลงไปมาก ใบเดี่ยว (Simple leaf) ขึ้นมาจากดิน เรียงซ้อนสลับแบนเป็นแถบแคบ กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 30-60 ซม. ปลายแหลมแบบ Acute ขอบเรียบและพับทบเป็นสันตลอดความยาวของใบ โคนแผ่เป็นแผ่นและเชื่อมติดกันเป็นวงหุ้มรอบใบที่อ่อนกว่าและก้านช่อดอกทำให้เกิดเป็นลำต้นเทียม ปลากใบสีเขียวและสีจะค่อยๆจางลงกระทั่งถึงโคนใบ ส่วนที่หุ้มหัวอยู่มีสีขาวหรือขาวอมเขียว ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม (Umbel) ประกอบด้วยตะเกียงรูปไข่เล็กๆ จำนวนมากปะปนอยู่กับดอกขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนน้อย มีใบประดับใหญ่ 1 ใบ ยาว 7.5-10 ซม ลักษณะบาง ใส แห้ง เป็นจะงอยแหลมหุ้มช่อดอกขณะที่ยังตูมอยู่ แต่เมื่อช่อดอกบานใบประดับจะเปิดอ้าออกและห้อยลงรองรับช่อดอกไว้ก้านช่อดอกเป็นก้านโดดเรียบ รูปทรงกระบอกตันยาวประมาณ 4 มม สีขาวหรือขาวอมชมพู เกสรเพสผู้ 6 อันติดที่โคนกลีบรวม อับเรณู และก้านเกสรเพสเมียยื่นมาสูงกว่าส่วนอื่นๆ ของดอกรังไข่ 3 ช่องแต่ละช่องมีออวุล 1-2 เมล็ดผลเล็กเป็นกระเป๋าสั้นรูปไข่หรือค่อนข้างกลมมี 3 พู เมล็ดเล็ก สีดำในประเทศไทยปลูกมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่กระเทียมที่มีชื่อเสียงว่าเป็นกระเทียมคุณภาพดี กลิ่นฉุนได้แก่กระเทียมจากจังหวัดศรีษะเกษ

2.สรพพคุณทางยา
- รักษาโรคบิด
- ป้องกันมะเร็ง

- ระงับกลิ่นปาก
- ลดระดับไขมัน คอลเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด
- ขับพิษ และสารอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
- มีกลิ่นที่ฉุนจึสามารถไล่ยุงได้ดี
- ขับลม






พริกไทย
พริกไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper nigrum) เป็นพืชมีผลเป็นพวงเม็ดขนาดเล็ก และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงสำหรับอาหาร ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากผงของเปลือกเป็นสีดำปนอยู่ ส่วนพริกไทยขาวได้จาการลอกเปลือกออกก่อนทำเป็นผง

1. ลักษณะต้นพริกไทย
พริกไทยเป็นต้นไม้ประเภทไม้เลื้อย มีความสูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อๆเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน ระบบรากของต้นพริกไทยจะมีเกิดขึ้นบริเวณข้อตามลำต้นเป็นรากเล็กๆจะเป็นรากที่ช่วยยึดเกาะ และมีรากที่อยู่ใต้ดินขนาดใหญ่ประมาณ 3-6 ราก แต่ละรากจะมีรากฝอย ลักษณะใบจะมีสีเขียนสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ดอกของพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตามข้อเป็นพวง เมล็ดจะมีลักษณะกลมติดกันเป็นพวง

2.สรรพคุณทางยาสมุนไพร
-ใบ : แก้ลมจุกเสียด แน่น ท้องอืดเฟ้อ
-เมล็ด : ผลที่ยังไม่สุกนำมาทำเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร
-ผลแก่ : 15-20เมล็ด บดเป็นผงชงน้ำกินให้หมด 1 ครั้ง ช่วยขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุแก้อาการอาหารไม่ย่อย
-ดอก : แก้ตาแดง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ระงับอาเจียน ผ่อนคลายอาการไม่สบายจากอาหารเป็นพิษจากอาหารทะเลและเนื้อสัตว์

3.การขยายพันธุ์
สามารถจะปลูกได้ 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด หรือ การปักชำ โดยอาศัยลำต้นส่วนยอด หรือส่วนอื่นๆที่ไม่แก่มาก

ซีอิ๊วขาว
ทั้งซีอิ๋ว ถือเป็นเครื่องปรุงที่กำเนิดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนตะวันตก ผลิตจากวัตถุดิบชนิดเดียวกัน คือ ถั่งเหลืองต่างกันที่กระบวนการหมัก ทว่าเมื่อผ่านขั้นตอนการหมักแล้ว ถั่วเหลืองจะทำหน้าที่คล้ายๆผงชูรส ทำให้รสชาติอร่อยขึ้น แต่ว่าเป็นความอร่อยตามธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี
ผลิตภัณฑ์ทั้งสามอย่างนี้ ดีที่สุด ก็ควรจะหมักเองหรือซื้อจากท้องถิ่นที่มีการหมักประจำ แต่ว่ามักจะหายาก ดังนั้น จึงมีวิธีเลือกซื้อและเก็บรักษาดังนี้
1.เลือกซื้อจากร้านอาหารเพื่อสุขภาพที่มักจะมีกลุ่มชาวบ้านทำขึ้นมาโดยดูจากฉลากอีกครั้งว่า ไม่ใส่สารกันบูด ไม่ใส่วัตถุกันเสีย ไม่ใส่ผงชูรส ไม่แต่งสีแต่งกลิ่น
2.ผลิตภัณฑ์ที่มียี่ห้อซึ่งวางขายตามท้องตลาดทั่วไป มีบางยี่ห้อที่ไม่ใส่สารดังกล่าว สามารถเลือกซื้อได้
3.การเลือกซื้อขวดเล็กเพราะหาดชกเก็บไว้นานจะเสียง่าย และควรใส่ตู้เย็น
4.ฉลากผลิตภัณฑ์ควรมีเครื่องหมาย อย. และที่อยู่ของบริษัทผู้ผลิตไว้ชัดเจน
ส่วนซอสหอยนางรมนั้นส่วนใหญ่จะมีสารปรุงรส อีกทั้งหอยนางรมก็มีคอเลสเทอรอลสูง จึงไม่แนะนำให้ใช้ แต่หากอยากใช้จริงๆก็ใช้แต่นิดๆแล้วอาศัยความเค็ม ความกลมกล่อมจากซีอิ๊วขาว

เกลือ
เกลือได้สมญา ราชาแห่งเครื่องปรุงรสเพราะเป็นสารปรุงรสที่คนนิยมทั่วโลก เกลือแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เกลือสินเธาร์และเกลือสมุทร หรือภาษาทั่วไปเรียก เกลือทะเล
เกลือทะเลหรือเกลือสมุทร เหมาะแก่การบริโภคมากที่สุด เพราะมีธาตุอาหารจากทะเล โดยเฉพาะสารไอโอดีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการ แต่เกลือชนิดนี้ไม่ค่อยมีวางขายในท้องตลาดเหมือนในอดีต ซึ่งเรื่องนี้ก็ยังเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายแปลกใจว่าทำไม ทั้งที่สมัยก่อนเกลือทะเลยังมีการเร่ขายตามจังหวัดไกลๆได้เว้นแต่ถ้าใครเดินทางผ่านแถวจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องนาเกลือ หรือทางภาคตะวันออกอย่างจังหวัดชลบุรี ก็สามารถแวะซื้อได้

เกลือสินเธาร์หรือเกลืออนามัย เป็นเกลือที่ดึงมาจากน้ำเค็มใต้ดิน ซึ่งทางภาคอีสานและภาคเหนือบางจังหวัดนิยมทำ แต่ข้อเสียของเกลือสินเธาร์คือไม่มีสารไอโอดีน จึงมีการเติมสารไอโอดีนเข้าๆไปในภายหลังปัจจุบันนี้ในท้องตลาดทั่วไป เกลือที่บรรจุถุงขายส่วนใหญ่คือเกลือสินเธาร์
ถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น